Loading Now
×
เที่ยวญี่ปุ่นสิ้นปี

ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเทศกาล ปีใหม่ มีหลายธรรมเนียมปฏิบัติที่ ชาวญี่ปุ่น ทำสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สิ่งที่ทำก่อนปีใหม่ ทำในวันปีใหม่ และทำหลังจากปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่าต้อนรับปีใหม่ การประดับตกแต่งบ้านด้วยของมงคลต่างๆ อีกทั้งยังมีเมนูอาหารเสริมโชคลาภที่เอาไว้กินเฉพาะในช่วงปีใหม่ ได้แก่ โทชิโคชิโซบะ, โอเซจิ, ฟุคุฉะ, โอโซนิ, ข้าวต้มนานากุสะกายุ และคางามิบิรากิ ครั้งนี้คิจิจะมาบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของธรรมเนียมและความหมายของการกินอาหารต่างๆ ซึ่งบอกเลยว่าน่าสนใจทีเดียว

วันขึ้น ปีใหม่ ในความหมายของ ชาวญี่ปุ่น

วันขึ้นปีใหม่ถือเป็นวันแห่งการเริ่มต้นสำหรับปีใหม่ แต่ละครอบครัวจะต้อนรับเทพเจ้าแห่งปีใหม่ พร้อมกับอธิษฐานให้พืชผลที่เก็บเกี่ยวอุดมสมบูรณ์, ขอให้ครอบครัวอยู่รอดปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง อีกทั้งยังเชื่อกันว่าเทพเจ้าแห่งปีใหม่จะอยู่ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 7 มกราคม นอกจากนี้ใน “วันปีใหม่ (元日)” หรือวันที่ 1 มกราคม จะมีธรรมเนียมให้หยุดกวาดบ้านเพื่อไม่ให้เป็นการกวาดเอาเสื้อผ้าที่เทพเจ้าแห่งปีนำมา

เทพเจ้าแห่งปี (歳神様)

ในวันปีใหม่จะมีเทพเจ้าแห่งปีหรือที่คนญี่ปุ่นทั่วไปเรียกว่า “โทชิกามิซามะ” จะลงมาจากภูเขาสูงเพื่อมอบความสุขให้กับผู้คนในช่วงปีใหม่ เรียกอีกอย่างว่า “โชกัตสึซามะ” หรือ “โทชิโตคุจิน” คนสมัยก่อนเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษกลายเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทุ่งและขุนเขา และกลายเป็นเทพเจ้าประจำปีใหม่เพื่อดูแลความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน ดังนั้นเพื่อเป็นการรับพร ขนบธรรมเนียมและกิจกรรมต่างๆ จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อต้อนรับและเฉลิมฉลองเทพเจ้าแห่งปี

การทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่าต้อนรับปีใหม่

คนญี่ปุ่นจะมีวันแห่งการทำความสะอาดครั้งใหญ่ประจำปี เรียกว่า “สุสุฮาราอิ โนะ ฮิ (すす払いの日)” เนื่องจากตลอดระยะเวลาในหนึ่งปีนั้นจะมีฝุ่นและเขม่าต่างๆ สะสมในบ้านเป็นจำนวนมาก  อีกทั้งในสมัยก่อนวันที่ 13 ธันวาคมของทุกปี จะเรียกกันว่าเป็นวัน “โชกัตสึโกโตฮาจิเมะ (正月事始め)” นั่นก็คือวันเตรียมการสำหรับก่อนวันขึ้นปีใหม่ จะมีการทำความสะอาดแท่นบูชาพระพุทธรูป ศาลเจ้า ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่เริ่มต้นขึ้นจากความศรัทธามากกว่าเพียงแค่ทำความสะอาดบ้านธรรมดา

เที่ยวญี่ปุ่นสิ้นปี ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

การทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่านี้ยังถือปฏิบัติกันมาจนถึงตอนนี้ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีโฆษณาตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านและวัดให้เห็นกันอยู่เป็นประจำ รวมถึงยังถือเป็นการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในบ้านให้ใช้งานสะดวกขึ้น นำสิ่งของที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ทำความสะอาดห้องน้ำ ปัดฝุ่นเขม่าต่างๆ ตามซอกเล็กซอกน้อยที่ปกติแล้วมักจะทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

การประดับตกแต่งบ้านในวันปีใหม่ 

ชาวญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมการต้อนรับเทพเจ้าแห่งปี จึงมีการนำสิ่งของต่างๆ มาตกแต่งตามบ้านเรือนในเทศกาลขึ้น ปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นตรงประตูบ้าน แท่นบูชา หรือห้องนั่งเล่น ซึ่งของตกแต่งแต่ละอย่างล้วนมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป
คาโดมัตสึ ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

คาโดมัตสึ(かどまつ)

คาโดมัตสึจะทำหน้าที่เป็นจุดสังเกตให้เทพเจ้าแห่งปีเข้ามาในบ้าน ซึ่งปกติแล้วจะประดับไว้ตรงที่ประตูบ้าน แต่สำหรับคนที่พักอาศัยในอพาร์ทเมนต์หรือคอนโดมิเนียมก็อาจจะติดหรือแขวนไว้ที่ประตูหน้าห้องแทน

ชิเมะคาซาริ ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

 ชิเมะคาซาริ (しめかざり)

จะตกแต่งด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์, กระดาษตัดเป็นพู่, กิ่งไม้, รวงข้าว, ส้มไดได, กุ้งมังกร และใบเฟิร์น เป็นต้น มักจะติดไว้ตรงทางเข้าบ้าน แท่นบูชาชินโต ซุ้ม ฯลฯ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าสถานที่นั้นศักดิ์สิทธิ์และเหมาะสมกับเทพเจ้าแห่งปี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องรางได้อีกด้วย
คางามิโมจิ ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

คางามิโมจิ (鏡餅)

คางามิโมจิ ถือว่าเป็นสถานที่ที่เทพเจ้าแห่งปีสถิตอยู่ โดยทั่วไปแล้วคางามิโมจิจะถูกวางประดับอยู่บริเวณที่โล่ง ห้องนั่งเล่น ห้องครัว หรือบริเวณที่คนในครอบครัวใช้ร่วมกัน นอกจากนี้คางามิโมจิยังถูกวางไว้ที่ศาลเจ้าด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นจะนำคางามิโมจิมากินในรูปแบบของโอโซนิหรือนำไปย่าง เพื่อสื่อถึงการนำเอาวิญญาณเทพเจ้าเข้าสู่ร่างกาย หรือการนำเอาความโชคดีเข้าสู่ชีวิตนั่นเอง

ช่วงวลาที่เริ่มตกแต่งบ้าน

การตกแต่งคาโดมัตสึ ชิเมนาวะ และคางามิโมจิจะทำหลังจากทำความสะอาดบ้านทั้งหลังเรียบร้อยแล้วเพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อเชิญชวนเทพเจ้าปีใหม่เข้ามาในบ้าน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องวางให้เป็นจุดสังเกตที่ชัดเจน การตกแต่งควรทำให้เสร็จสิ้นในช่วงระหว่างวันที่ 13-28 ธันวาคม หรืออย่างช้าที่สุดคือวันที่ 30 ธันวาคม และจะหลีกเลี่ยงวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งจะเรียกว่า “อิจิยาคาซาริ” หมายถึงการตกแต่งแค่คืนเดียว จะถือเป็นการไม่ให้เกียรติเทพเจ้าแห่งปี อีกทั้งเชื่อกันว่าสิ่งนี้จะนำความโชคร้ายมาสู่บ้าน นอกจากนี้วันที่ 29 ธันวาคม ยังถือเป็นวันอัปมงคลจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

ของตกแต่งควรเก็บเมื่อไหร่

ตั้งแต่วันปีใหม่ถึงวันที่ 7 (หรือวันที่ 15 ในบางภูมิภาค) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “มัตสึโนะอุจิ” ถือเป็นช่วงที่เทพเจ้าแห่งปีปรากฏตัว โดยทั่วไปแล้วจึงจะเก็บของประดับตกแต่งปีใหม่กันประมาณวันที่ 7 มกราคมเป็นต้นไป

กินโซบะ ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

กินโซบะในวันส่งท้ายปีเก่า

วันสุดท้ายของปีวันที่ 31 ธันวาคม เรียกว่า “โอมิโซกะ (大晦日)” แต่ละครอบครัวจะกินโทชิโคชิโซบะ (โซบะข้ามปี) พร้อมหน้าพร้อมตากัน ว่ากันว่าการกินโซบะนั้นเพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาวเนื่องจากเส้นโซบะมีความบางและยาว แต่เมื่อเทียบกับเส้นอื่นๆ แล้วเส้นโซบะจะตัดขาดตรงกลางได้ง่ายกว่า ถือเป็นสิริมงคลหมายถึงการขจัดความยากลำบากและเพิ่มโชค สามารถกินโซบะตอนไหนก็ได้แต่ควรกินให้เสร็จก่อนปีใหม่ หากกินหลังปีใหม่จะถือว่าเป็นอัปมงคล

ตีระฆังญี่ปุ่น ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

ตีระฆังส่งท้ายวันปีเก่า

ในคืนวันส่งท้ายปีเก่าจะมีการตีระฆังใหญ่ที่วัด โดยจะเริ่มในเวลาประมาณเที่ยงคืน จำนวน 108 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่แสดงถึงความปรารถนาทางโลกของมนุษย์ และเป็นการส่งสัญญานว่าได้ก้าวเข้าสู่ปีใหม่แล้ว

ตะเกียบญี่ปุ่น ปีใหม่ชาวญี่ปุ่นทำอะไรบ้าง? บอกเล่าธรรมเนียมปฏิบัติและทำความรู้จักอาหารเสริมโชคลาภฉบับญี่ปุ่น

อาหารที่กินในวันขึ้นปีใหม่

ในวันปีใหม่ชาวญี่ปุ่นถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง โดยจะฉลองด้วยการกินอาหารโอเซจิ ตะเกียบฉลอง ชานำโชค รวมไปถึงโอโซนิด้วยเช่นกัน

อาหารโอเซจิ (おせち料理)

อาหารโอเซจิ เป็นอาหารที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้กินอย่างเพลิดเพลินในวันขึ้นปีใหม่พร้อมกับครอบครัว โดยสามารถกินได้ภายใน 1-3 วัน เดิมทีแล้วอาหารโอเซจิเป็นเครื่องบูชาแด่เทพเจ้าแห่งปีใหม่ แต่ในยุคปัจจุบันกลายเป็นอาหารที่กินในวันขึ้นปีใหม่ การกินอาหารที่ถวายแด่เทพนั้นเพื่อที่จะรับพลังของเทพเจ้าเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง

ส่วนตะเกียบที่ใช้ในการกินอาหารโอเซจินั้นเรียกว่า “อิวาอิบาชิ (祝い箸)” ทั้งปลายและด้ามจับของตะเกียบนั้นจะบาง โดยตะเกียบข้างหนึ่งสำหรับเทพเจ้าแห่งปีและอีกข้างสำหรับมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าเทพเจ้าแห่งปีและมนุษย์กินด้วยกัน ให้เขียนชื่อของเราไว้บนถุงตะเกียบและใช้ตะเกียบเป็นเวลา 3 วัน

ฟุคุฉะ (福茶)

ชานำโชคที่ใส่บ๊วยดอง (อุเมะโบชิ), สาหร่ายคอมบุเค็ม, ถั่วแระดำหรือถั่วเหลือง และพริกไทยญี่ปุ่นลงในน้ำร้อน การดื่มฟุคุฉะนั้นเป็นการอธิษฐานให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

โอโซนิ (お雑煮)

โอโซนิ คือการกินโมจิที่มีพลังของเทพเจ้าแห่งปี ว่ากันว่าหากได้กินแล้วจะทำให้มีพละกำลัง บางบ้านทำโอโซนิกินเอง ซึ่งจะเป็นรสชาติของบ้านนั้นๆ ใส่ทั้งมิโซะ โชยุ และวัตถุดิบอื่นๆ มากมาย แต่ที่ร้านอาหารก็มีโอโซนิแบบพร้อมกินจำหน่ายอยู่ด้วยเช่นกัน

นานากุสะกายุ (七草がゆ)

ในวันที่ 7 มกราคมของทุกปี จะมีการกินนานากุสะกายุ เป็นการทำข้าวต้มด้วยผักสมุนไพร 7 ชนิด ได้แก่ เซริ, นาซึนะ, ฮาฮาโกกุสะ, โกโอนิตาบิราโกะ, โฮโตเคะโนสะ, ซุซุนะ, และซุสุชิโระ แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการอ่อนล้าของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากการกินจำนวนมากในช่วงฉลองปีใหม่ อีกทั้งยังช่วยป้องกันหวัดและเสริมวิตามินที่มักจะขาดในฤดูหนาว นอกจากนี้การกินนานากุสะกายุยังถือเป็นการขอพรให้มีสุขภาพแข็งแรง

คางามิบิรากิ (鏡開き)

วันส่งพระเจ้าแห่งปี โดยทั่วไปคือวันที่ 11 มกราคม (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค) จะมีการเปิด “คางามิโมจิ (鏡餅)” โมจิปั้น 2 ลูกซ้อนกัน ด้านบนเป็นส้มไดได ในวันคางามิบิรากิจะมีการทุบคางามิโมจิด้วยค้อนเป็นชิ้นเล็กๆ หลังจากนั้นนำมาใส่ในอาหารหรือขนม แล้วกินโดยไม่ให้เหลือแม้แต่ชิ้นเดียว เพื่อเป็นการอธิษฐานให้คนในบ้านพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

ที่มา :

เรื่อง : KIJI

You May Have Missed