ปีใหม่คนญี่ปุ่น เขาทำอะไรกัน??
คนไทยอย่างเราคงอยากทราบว่าคนญี่ปุ่นมีธรรมเนียมเหมือนบ้านเราไหมใช่ไหมคะ ในฐานนะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันมายาวนาน ไทย-ญี่ปุ่น
ธรรมเนียมในวันปีใหม่ของชาวญี่ปุ่น
- การทำความสะอาดบ้าน
- การประดับตกแต่งห้างร้านและหน้าบ้านสำหรับต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ ด้วยคะงะมิโมจิ (Kagami Mochi) และต้นสนคะโดะมะสึ (Kado Matsu) และ ชิเมะนาวะ คาซาริ (Shimenawa Kazari)
- การส่งไปรษณีย์บัตรปีใหม่ หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เน็งกะโจ (Nengajo) เพื่ออวยพรวันปีใหม่ ให้กับ ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน
- การไปไหว้พระขอพร
- ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ดูทีวีช่อง NHK มีรายการเพลงพิเศษ “โคฮะขุ อุตะ กักเซ็น (Kohaku uta gassen)”
- การรับประทานโซบะ (Toshikoshi Soba) ช่วงห้าทุ่ม ก่อนเข้าสู่วันปีใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตยืนยาวเหมือนเส้นโซบะ การรับประทานซุปโอะโซนิ (Ozoni) อาหารที่มีมาแต่โบราณของญี่ปุ่น นิยมทานกันในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีสไตล์การปรุงเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว
- ตอนเช้าปีใหม่จนถึงวันที่สามของ วันขึ้นปีใหม่ ชาวญี่ปุ่นมักรับประทานอาหารที่มีเฉพาะวันขึ้นปีใหม่ ที่เรียกว่า โอเซจิเรียวริ (Osechi Ryori) เพื่อให้โชคดี และมีสุขภาพแข็งแรง
- การละเล่นปีใหม่ เช่น การตีลูกขนไก่ (Hagoita), การเล่นลูกข่าง (koma), การเล่นว่าว (takoage), หรือการเล่นไพ่ (karuta) เป็นต้น
- เทศกาลไม้ตีลูกขนไก่โบราณ (Hagoita-ichi) จัดช่วงกลางเดือนธันวาคม ที่ วัดดังแห่งอาซากุสะ (Asakusa) ในโตเกียว (Tokyo) ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่าไม้ฮะโกอิตะ (Hagoita) นี้ ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ผ่านไปก่อนที่ปีใหม่จะมาเยือน ถือว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำให้ชาวญี่ปุ่นจึงมักจะมาเลือกซื้อ เพื่อนำไปประดับบ้านก่อนวันขึ้นปีใหม่
วันสิ้นปีเก่า ที่เรียกว่า โอมิโซกะ (Oomisoka)
ในช่วงวันที่ 31ธันวาคม ก่อนถึงวันปีใหม่ จะเรียกวันนี้ว่า โอมิโซกะ (Oomisoka) เป็นวันสิ้นปีที่คนญี่ปุ่นมักจะมีกิจกรรมหลายอย่างให้ทำ เช่น
การฉลองส่งท้ายปีกับคนในครอบครัวอยู่ที่บ้าน
คนญี่ปุ่นมักจะจัดเตรียมอาหารมงคลเพื่อฉลองวันขึ้นปีใหม่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา และในตอนกลางคืนจะมีประเพณีที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างหนึ่งก็คือการรับประทาน โทชิโคชิ โซบะ (Toshikoshi Soba) ซึ่งเป็นอาหารชนิดเส้นอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น เพื่อเป็นการส่งท้ายปีที่กำลังจะผ่านพ้นไป โดยเปรียบความยาวของเส้นโซบะ หมายถึงการมีสุขภาพดี และอายุยืนยาว และลักษณะที่ตัดขาดได้ง่ายให้หมายถึงการตัดเอาเรื่องร้าย ๆ ที่ผ่านมาในปีเก่าออกไป พร้อมกับดูทีวีตามช่องต่าง ๆ เช่น ช่อง NHK มีรายการเพลงพิเศษ “โคฮะขุ อุตะ กักเซ็น (kohaku uta gassen)” และต่อด้วยกับดูภาพบรรยายกาศจากวัดต่าง ๆ ผ่านการถ่ายทอดสด
การฉลองส่งท้ายปีด้วยกิจกรรมการตีระฆัง พร้อมกับนมัสการขอพรในวันปีใหม่ที่วัดและศาลเจ้า
กิจกรรมการไปวัดเพื่อฟังเสียงระฆังโจยา โนะ คาเนะ (Jyoya no kane) ซึ่งเป็นประเพณีที่ตามวัดชื่อดัง ๆ จะมีการตีระฆัง 108 ครั้ง เพื่อขับไล่กิเลศ และปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายทั้งหมด 108 อย่าง แล้วต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ด้วยจิตอันบริสุทธิ์
เนื่องด้วยคืนวันที่ 31 ธันวาคม วัดส่วนใหญ่จะเปิดตลอดคืน คนญี่ปุ่นจะพากันไปวัด และศาลเจ้าทำให้บรรยากาศเฉลิมฉลองขอพรครึกครื้นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก และผู้หญิงบางคนก็แต่งชุดกิโมโนแบบเต็มยศอย่างสวยงาม เข้าแถวเพื่อฟังเสียงระฆัง สวดมนต์ข้ามปี ทำบุญ และอธิษฐานขอให้มีสุขภาพดี และประสบความเจริญรุ่งเรือง
อย่างที่จังหวัดเกียวโต (Kyoto) ที่ศาลเจ้ายะซะกะ (Yasaka Shrine) มีจัดเทศกาลโอะเคะระ ไมริ (Okera Mairi) หรือเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 19.30 น. ของวันที่ 31 ธันวาคมไปจนถึงห้าโมงเย็นของวันที่ 1 มกราคม มีร้านขายของตามข้างทาง และจัดงานทั้งคืนจนถึงเช้าวันใหม่ ท่ามกลางบรรยากาศที่ครึกครื้น กิจกรรมส่วนมากก็เหมือนกับที่อื่น ๆ แต่ที่พิเศษก็คือ การนำสมุนไพรโอะเคะระ (Okera) ซึ่งเป็นสมุนไพรที่เชื่อกันว่าสามารถนำพาสิ่งไม่ดีออกไปได้ มาจุดไฟที่ตะเกียงภายในศาลเจ้า จุดเด่นของเทศกาลนี้คือการนำปลายเชือกมาจุดไฟที่ตะเกียง จากนั้นก็ทำการแกว่งเชือกเป็นวงกลมต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยการแกว่งเชือกที่จุดไฟในช่วงเวลาที่ไปขอพร เพื่อปัดเป่าโชคร้ายในปีที่ผ่านมาออกไป และขอให้อายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรงตลอดปีใหม่ที่กำลังมาเยือน แล้วจะนำเชือกที่เหลือจากการแกว่งกลับบ้าน เพราะเชื่อกันว่า เชือกนี้จะช่วยคุ้มครองป้องกันบ้านจากอัคคีภัย
การฉลองส่งท้ายปีด้วยกิจกรรมงานเคาท์ดาวน์ (Countdown)
ในช่วงตั้งแต่ค่ำคืนของวันที่ 31 ธันวาคม เรื่อยไปจนถึงเช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการจัดงานเคาท์ดาวน์ (Countdown) ในหลากรูปแบบตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจุดที่เต็มไปด้วยหนุ่มสาววัยรุ่น ออกมารวมตัวกันปาร์ตี้ส่งท้ายปีกัน ได้แก่
- จุดชมวิวเจอาร์ทาวเวอร์ T98 (JR TowerObservation Deck T38), ฮอกไกโด (Hokkaido)
- ย่านชิบูยะ (Shibuya), โตเกียว (Tokyo)
- หอคอยโตเกียวทาวเวอร์ (Tokyo Tower), โตเกียว (Tokyo)
- สวนสาธารณะคะไซริงไค (Kasai Rinkai Park), โตเกียว (Tokyo)
- สวนสนุกโตเกียว ดีสนีย์แลนด์ (Tokyo Disneyland), ชิบะ (Chiba)
- สวนสนุกคอสโม่เวิล์ด (Yokohama Cosmo World), คะนะงะวะ (Kanagawa)
- มินะโตะมิไร (Minatomirai), คะนะงะวะ (Kanagawa)
- ลากูน่า เทน บอช (Laguna Ten Bosch), ไอจิ (Aichi)
- รีสอร์ทนางาชิมะ(Nagashima Resort), มิเอะ (Mie)
- ศูนย์การค้ายูนิเวอร์แซล ซิตี้ วอล์ค (Universal Citywalk Osaka), โอซาก้า (Osaka)
- สวนสนุกยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ เจแปน (Universal Studios Japan), โอซาก้า (Osaka)
- อาคาร อุเมดะ สกาย บิลดิ้ง (Umeda Sky Building), โอซาก้า (Osaka)
- ปราสาทโอซาก้า (Osaka Castle), โอซาก้า (Osaka)
- ฮาร์ดร็อกคาเฟ่ ฟูกุโอกะ (Hard Rock Cafe Fukuoka), ฟุคุโอกะ (Fukuoka)
- สวนสนุกเฮาส์เทนบอช (Huis Ten Bosch), นางาซากิ (Nagasaki)
วันขึ้นปีใหม่วันแรกในญี่ปุ่น
-
เริ่มเปิดขายของเป็นครั้งแรกของปี ที่เรียกว่า ฮัตสึอุริ (Hatsu Uri)
ช่วงเทศกาลปีใหม่ประมาณสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมของทุกปี ตามห้างสรรพสินค้า อาคารแฟชั่น และถนนสายช้อปปิ้งต่างๆ จะนำสินค้ามาลดราคา เป็นการจัดงานฮัตสึอุริ (Hatsu Uri) ซึ่งหมายถึงการเริ่มเปิดขายของเป็นครั้งแรกของปี แต่ที่นิยมที่สุดสำหรับขาช้อปปิ้งคงจะเป็นสินค้าที่เรียกว่า ฟุคุบุคุโระ หรือ Lucky bag เป็นช่วงนี้จะเห็นร้านค้าต่าง ๆ จัดวางถุงสีแดงและขาวมากมายแสดงไว้ที่หน้าร้าน และเป็นภาพที่จะพบได้แค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ฟุคุบุคุโระ หรือ Lucky bag เรียกได้ว่าเป็นถุงวัดดวง เพราะผู้ซื้อจะไม่รู้เลยว่าข้างในถุงนั้นมีอะไรบ้าง โดยถุงนี้จะนำมาจำหน่ายในราคาพิเศษตั้งแต่หลักพันเยนจนถึงหลายหมื่นเยน ซึ่งแน่นอนว่าในถุงนั้นมีสินค้ามูลค่ามากกว่าราคาที่ตั้งขาย แต่สินค้าที่ใส่ลงในแต่ละถุงมีการคละกันมา หากผู้ซื้อเปิดถุงที่ซื้อมาแล้วพบว่ามีสินค้าถูกใจอยู่หลายชิ้นก็เท่ากับว่าเป็นปีแห่งความโชคดี สำหรับร้านค้าที่ได้รับความนิยมสูง บางครั้งจะได้พบเห็นผู้คนต่อแถวยาวเหยียดรอคิวซื้อฟุคุบุคุโระ หรือ Lucky bag ก่อนวันวางขายหลายวัน และมักจะขายหมดภายในไม่กี่นาที
-
ชมพระอาทิตย์แรกของปี ที่เรียกว่า ฮัตสึฮิโนะเดะ (Hatsuhinode)
หนึ่งกิจกรรมสำคัญในช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่นคือ การไปชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันแรกของปี ที่เรียกว่า ฮัตสึฮิโนะเดะ (Hatsuhinode) ด้วยความเชื่อที่ว่าเทพเจ้าแห่งปีใหม่ จะเสด็จมายังโลกพร้อมกับพระอาทิตย์ในเช้าวันที่ 1 มกราคม และหากเราได้ขอพรต่อแสงแรกของปีจะนำพามาซึ่งความสุขตลอดทั้งปี เวลาในการชมที่ดีที่สุดจะอยู่ที่ประมาณ 6 โมง 45 นาที ถึง 7 โมง 25 นาที และสถานที่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ บนภูเขา รอบภูเขาไฟฟูจิ ชายหาด สำหรับการชมพระอาทิตย์แรกของปีนั้นหากอยู่ในเขตเมืองใหญ่ก็ขอแนะนำเป็นยอดตึกสูงต่างๆ
การชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันที่ 1 มกราคมเพื่อขอพร เพราะเชื่อว่า
- การชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันแรกของปีใหม่นิยมทำกันตามภูเขา ทะเล สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติหรือตึกสูงที่เห็นทัศนียภาพได้ชัดเจน
- พระอาทิตย์ที่ขึ้นในวันแรกของปีเรียกว่า ฮัตสึฮิโนะเดะ (初日の出)
- ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า การชมพระอาทิตย์แรกของปีมีพลังศักดิ์สิทธิ์ ประเพณีเป็นที่นิยมตั้งแต่สมัยเมจิ (1868-1912)
- ประเทศญี่ปุ่นเป็นดินแดนแห่งศาสนาชินโต จึงเชื่อว่า ดวงอาทิตย์เป็นตัวแทนเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในจักรวาล
- เชื่อว่าถ้าได้เห็นแสงพระอาทิตย์แรกของปีนั้นจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี และเป็นการนำความโชคดีและความสุขมาให้ตลอดปีใหม่
- อธิฐานให้ครอบครัวมีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรงตลอดปี ระหว่างการชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันแรกของปีใหม่
สถานที่แนะนำสำหรับการชมพระอาทิตย์แรกของปี
ตามสถานที่วิวธรรมชาติที่สวยงามได้แก่ บนภูเขา ชายหาด ลานสกี บ่อน้ำร้อน และอื่นๆ อาทิเช่น
- ภูเขาโมอิวะ (Moiwa Mt. Sapporo), ฮอกไกโด (Hokkaido)
- แหลมโซคันซัง มัตสึชิมะ (Sokanzan Matsushima), มิยะงิ (Miyagi)
- ภูเขาทาคาโอะ (Takaosan Mt.),โตเกียว (Tokyo)
- แหลมอินุโบซะกิ (Inubosaki), ชิบะ (Chiba)
- ภูเขาคงโก (Kongo Mt.), โอซาก้า (Osaka)
- ยอดเขาโอยะมะ หรือจุดชมวิวไดคังโบะ บนเส้นทางอัลไฟน์ ทะเทะยะมะคุโรเบะ (Tateyama Kurobe Alpine Route), โทยามะ (Toyama)
- ชายฝั่งทะเล ชมหินคู่รัก ( Bungo Futamigaura),โออิตะ (Oita)
Post Comment